วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Devices)

      เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการแปลงข้อมูลผลลัพธ์ที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถเข้าใจได้ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของ ตัวอักษร รูปภาพ หรือ กราฟ แสดงออกให้ผู้ใช้เห็นผ่านออกทางอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ต่างๆ ที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
-  อุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบถาวร เช่น เครื่องพิมพ์
-  อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว เช่น จอภาพ

1. เครื่องพิมพ์ (Printer)
     เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่แปลงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบของอักขระ และรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ สามารถแบ่งออกตามลักษณะวิธีการพิมพ์ได้เป็น 2 ประเภท คือ
       1.1 เครื่องพิมพ์ชนิดตอกกระทบ (Impact Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่จะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องพิมพ์ตอกกระทบผ่านผ้าหมึกไปกระทบกับกระดาษเพื่อให้เกิดเป็นตัวอักษร หรือ รูปภาพบนกระดาษเครื่องพิมพ์ที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่
             เครื่องพิมพ์ด็อตเมทริกซ์ (Dot Matrix Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคาและคุณภาพการพิมพ์นั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์นี้ใช้หลักการสร้างจุดลงบนกระดาษ โดยตรงส่วนหัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์นี้จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม (Pin) โดยจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
     -  เครื่องพิมพ์ชนิดมีเข็มพิมพ์ 9 เข็ม
      -  เครื่องพิมพ์ชนิดมีเข็มพิมพ์ 24 เข็ม
คุณภาพในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ด็อตเมทริกซ์ ประเภทนี้จะแบ่งออกได้เป็น
     -  การพิมพ์แบบร่าง (Draft  Mode) เป็นการพิมพ์ด้วยความเร็วสูงสุดแต่คุณภาพของข้อมูลจะแย่ที่สุดเพราะข้อมูลที่พิมพ์ออกมามีความคมชัดน้อย
     -  การพิมพ์แบบคุณภาพใกล้เคียงกับตัวพิมพ์ดีด (Near Letter Quality: NLQ) การพิมพ์แบบนี้ตัวอักษรจะถูกพิมพ์ซ้ำสองครั้งแต่ตำแหน่งของหัวเข็มจะเยื้องกันเล็กน้อย ทำให้ตัวอักษรที่ได้คมชัดและสวยงามใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ได้จากเครื่องพิมพ์ดีดมีความคมชัดมากกว่า Draft Mode
    -  การพิมพ์แบบคุณภาพเหมือนตัวพิมพ์ดีด (Letter Quality: LQ) ข้อมูลที่พิมพ์ออกมานั้นมีความชัดเจนและคมชัด เหมือนกับพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดแต่การพิมพ์ด้วยคุณภาพนี้ก็จะต้องใช้เวลาในการพิมพ์มากที่สุดเช่นกัน
        ความเร็วในการพิมพ์ข้อมูลของเครื่องพิมพ์ด็อตเมทริกซ์นี้มีหน่วยวัดเป็นตัวอักษรต่อวินาที เครื่องพิมพ์ด็อตเมทริกซ์จะมีอยู่สองขนาดคือ ขนาดแคร่สั้นและแคร่ยาวเครื่องพิมพ์แคร่สั้นจะใช้กับกระดาษที่มีความกว้าง 8 ½  X 11 นิ้วโดยอาจจะเรียกได้ว่าเป็นเครื่องพิมพ์ชนิด 80 ตัวอักษรเพราะสามารถพิมพ์ตัวอักษรจากซ้ายไปขวาสุดได้ 80 ตัวอักษรพอดี ส่วนเครื่องพิมพ์แคร่ยาวจะใช้กับกระดาษที่ความกว้าง 14 นิ้ว โดยจะสามารถพิมพ์ได้ 132 ตัวอักษร



          เครื่องพิมพ์เดซีวิว (Daisy Wheel Printer ) มีลักษณะการทำงานเหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีดสมัยก่อน หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นจากกลมๆ ที่มีก้านพิมพ์ยื่นออกไปเป็นแฉกๆ รอบดุมของแผ่นจานตรงกลาง ตรงส่วนปลายของก้านพิมพ์จะมีแม่พิมพ์ของตัวอักษรอยู่ เมื่อต้องการพิมพ์ตัวอักษรใดคอมพิวเตอร์ก็จะส่งสัญญาณไปที่เครื่องพิมพ์ให้หมุนจานเลื่อนเอาก้านพิมพ์ของตัวอักษรดังกล่าวไปวางไว้เหนือผ้าหมึกเมื่อตรอกกระแทกแม่พิมพ์นั้นลงไปบนกระดาษ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ทำงานช้ากว่าเครื่องพิมพ์ด็อตเมทริกซ์มาก และมีเสียงดังจนกระทั่งต้องหากล่องเก็บเสียงมาครอบเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ไว้ และที่สำคัญเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ไม่สามารถพิมพ์งานกราฟิกได้



 เครื่องพิมพ์หัวดรัม (Drum Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีลูกกลิ้งที่เรียกว่า ดรัม (Drum) โดยบนดรัมนั้นจะมีแถวอักษรที่ทำเป็นตัวนูนไว้ แต่ละแถวจะเป็นตัวอักษรเดียวกันหมด เมื่อต้องการพิมพ์ตัวอักษรตัวใดลงบนกระดาษ คอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องพิมพ์ให้หมุนดรัมเอาแถวของตัวอักษรดังกล่าวมาอยู่เหนือผ้าหมึก จากนั้นถ้ามีตัวอักษรดังกล่าวอยู่จุดใดในบรรทัดนั้นหัวค้อนที่อยู่ตรงจุดดังกล่าวจะตอกกระดาษให้ไปกระทบกับตัวอักษรทุกตำแหน่งที่ตัวอักษรนั้นควรจะอยู่ ดังนั้น ดรัมหมุนครบ 1 รอบ ก็จะได้ข้อมูลครบท้วน จึงจัดเครื่องพิมพ์ชนิดนี้เป็นเครื่องพิมพ์ทีละบรรทัด (Line Printer) ที่มีหน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์เป็น LNM  ข้อเสียของเครื่องพิมพ์หัวดรัมนี้เหมือนกับเครื่องพิมพ์เดซีวิว คือ ไม่สามารถพิมพ์งานกราฟิกได้ และไม่สามารถเลือกรูปแบบของตัวอักษรที่ใช้พิมพ์ได้ ถ้าต้องการเปลี่ยนรูปแบบอักษรก็ต้องเปลี่ยนดรัมไปเรย



       1.2 เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอกกระทบ (Non-impact Printer)  เป็นเครื่องพิมพ์ที่ไม่จำเป็นต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องพิมพ์ผ่านผ้าหมึกไปกระทบกับกระดาษ ก็สามารถสร้างตัวหนังสือ หรือ รูปภาพบนกระดาษได้เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะไม่ใช้ผ้าหมึกในการทำงาน แต่จะมีผงหมึก (Toner) ละเอียดที่ใช้ในการสร้างตัวอักษรและรูปภาพต่างๆ โดยสามารถพิมพ์ได้ทั้งแบบสีเดียว (Monochrome) และแบบสี่สีเหมือนเอกสารสีทั่วไป เช่น
             เครื่องพิมพ์อิ้งก์เจ็ต (Ink Jet Printer)  เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ดีกว่าเครื่องพิมพ์ด็อตเมทริกซ์มาก โดยจะสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบและขนาดที่แตกต่างกันมากๆ รวมไปถึงพิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ด็อตเมทริกซ์เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์อิ้งก์เจ็ตใช้ในการพิมพ์คือการพ่นหยดหมึกเล็กๆ ไปทีกระดาษ เครื่องพิมพ์อิ๊งก์เจ็ตมีความเร็วที่พิมพ์ประมาน 1-4 หน้าต่อนาที จึงจัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบพิมพ์ทีละหน้า (Page Printer) โดยมีหน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์เป็น PPM (Pages Per  Minute)



            เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์อิ๊งก์เจ็ต แต่สามารถพิมพ์เลเซอร์สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาด รวมทั้งสามารถพิมพ์งานกราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะใช้แถบ Photoconductor belt ที่สามารถใช้แสงเพื่อทำให้เกิดสำเนาของภาพที่ต้องการพิมพ์ลงบนกระดาษ หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์อิ้งก์เจ็ต




            เครื่องพล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดพิเศษอย่างหนึ่งที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษ เหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม เครื่องพล็อตเตอร์จะทำงานโดยใช้วิธีการเลื่อนแผ่นกระดาษไปตามความยาวในขณะที่หัวปากกาจะเลื่อนไปตามความกว้างของกระดาษ ปากกาที่ใช้นั้นสามารถมีได้ 6-8 สี ส่วนความเร็วในการทำงานของเครื่องพล็อตเตอร์นั้นมีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Second: IPS)




2. จอภาพ (Monitor)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบถาวร หมายถึง จะมีการพิมพ์ออกทางกระดาษที่สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานในการทำงานได้ แต่จอภาพจะเป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบชั่วคราวที่สามารถให้ผู้ใช้เห็นลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว
      ประเภทของจอภาพ   มีอยู่ 2 ประเภท คือ
          จอภาพแบบ CRT เป็นจอที่ใช้หลอดภาพยิงแสงและรังสีออกมาแสดงเป็นภาพ จอประเภทนี้ได้รับความนิยมมานาน เพราะมีราคาถูกและมีความชัดเจนเพียงพอแต่ปัญหาของจอภาพแบบ CRT ก็คือ ต้องการพื้นที่ใช้งานค่อนข้างมาก เพราะมีขนาดใหญ่และปัญหาเกี่ยวกับรังสีจากจอภาพหากมีการติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จอภาพแบบ CRT นี้ในปัจจุบันยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
- จอ CRT แบบธรรมดา เป็นจอภาพ CRT แบบที่เห็นกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน มีราคาถูกที่สุด พื้นที่ของหน้าจอมีลักษณะโค้งแบน แต่ไม่แบนราบและมีการปรับหน้าจอให้มีลักษณะเกือบแบนแบบหลอกตา เพื่อให้การมองภาพดูสะดวกมากขึ้น


- จอ CRT แบบ Trinitron จอ CRT แบบ Trinitron พัฒนาโดยบริษัท Sony ซึ่งภาพที่ได้มีความสมจริง สว่าง และถนอมสายตาของผู้ใช้ได้ดีกว่า หน้าจอมีลักษณะแบนราบ ไม่โค้งมากเหมือนกับจอ CRT ปกติ แต่ก็ยังคงมีขนาดใหญ่ เพราะใช้หลอดภาพในการสร้างภาพเหมือนเดิม

จอภาพแบบ LCD จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display) มีลักษณะแบนและบาง พื้นที่ในการมองมากกว่าจอแบบ CRT คือถ้าหากมีขนาด 17 นิ้ว จอ LCD จะให้เราดูภาพได้เกือบเต็มขนาดของจอเลยที่เดียว ที่สำคัญจอแบบ LCD ไม่มีการแผ่รังสีออกมาจึงดูสบายตาสามารถทำงานได้ตลอดทั้งวัน และไม่จำเป็นที่จะต้องไปซื้อพวกแผ่นกรองรังสีมาใช้ให้ดูเกะกะ อีกทั้งขนาดของจอจะไม่เทอะทะ จึงประหยัดพื้นที่ในการวางบนโต๊ะทำงาน แต่เสียตรงที่มีราคาสูงกว่า 2 แบบแรก



องค์ประกอบสำคัญของจอภาพ
1. ขนาดของหน้าจอ หน้าจอแสดงผลของจอมิเตอร์ในปัจจุบัน มีให้เราเลือกจอแสดงผลขนาดใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานของเรา ถ้าทำงานเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ และกราฟิก ก็ควรเลือกจอที่มีขนาดใหญ่หน่อยเพื่อเห็นรายละเอียดของภาพชัดเจนขึ้น
2. ความละเอียดของจอแสดงผล (Resolution) วัดจากความกว้างและความยาวของการแสดงจุดสี (Pixel) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ยิ่งจำนวนจุดสีมากก็ยิ่งทำให้ภาพที่ดูคมชัดมากยิ่งขึ้น โดยจอภาพในปัจจุบันจะบอกถึงความละเอียดสูงสุดในการแสดงผลที่สามารถแสดงได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น